ผลสำรวจล่าสุดของ SiteMinder เผย นักท่องเที่ยวไทยมีแนวโน้มที่จะทำงานระหว่างท่องเที่ยวมากที่สุด

ผลสำรวจล่าสุดของ SiteMinder จากนักท่องเที่ยวทั่วโลกกว่า 8,000 คน รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทย 800 คนทั่วประเทศ เผยว่านักท่องเที่ยวไทย 2 ใน 3 หรือ 65% คาดว่าจะทำงานไปด้วยระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ 36%

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันท่องเที่ยวโลก SiteMinder (ASX:SDR) ผู้นำแพลตฟอร์มระดับโลกด้านโฮเทลคอมเมิร์ซแบบ Open Platform ได้เปิดเผยผลสำรวจผ่าน Changing Traveller Report ประจำปี ซึ่งปีนี้ผลสำรวจแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะผสมผสานการทำงานและธุรกิจเข้ากับการท่องเที่ยวพักผ่อน หรือ Bleisure โดยมีความนิยมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ นำโดยประเทศไทย ตามด้วยประเทศอินโดนีเซีย และประเทศจีน

เทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ คาดว่าจะส่งผลให้ผู้ให้บริการที่พักต้องปรับตัวเพื่อตอบรับกับความต้องการนี้ โดยที่พักจะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากกว่าการใช้เป็นที่หลับนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ที่จะทำงานไปด้วยระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว

ในฐานะแบบสำรวจด้านที่พักที่ใหญ่ที่สุดในโลก รีพอร์ตของ SiteMinder เผยถึง 5 เทรนด์ท่องเที่ยว ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้ให้บริการที่พักและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยหนึ่งในนั้นคือเทรนด์ Bleisure ที่ได้กล่าวไปข้างต้น:

  • The Macro-Travel Trend: คนมีความต้องการที่จะเดินทางมากกว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
  • The Digital Influence Trend: ปัจจุบัน นักเดินทางเป็นผู้บริโภคที่ธุรกิจมีโอกาสดึงมาเป็นลูกค้ามากที่สุด
  • The Bleisure Trend: นักท่องเที่ยวที่ทำงานไปด้วยต้องการโรงแรมที่ตอบรับความต้องการมากขึ้น
  • The Trust Trend: ทุกๆ ขั้นตอนทางดิจิทัล มีความสำคัญอย่างมากสำหรับนักเดินทางยุคใหม่ที่ใส่ใจด้านความปลอดภัย
  • The Human Connection Trend: นักเดินทางที่ใช้เทคโนโลยี ยังคงให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์

แบรด ไฮนส์ รองประธานฝ่ายการตลาดของ SiteMinder ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “การท่องเที่ยวที่ทุกคนเฝ้ารอคอยได้กลับมาแล้ว พร้อมกับนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขามีความยืดหยุ่นในการทำงานนอกออฟฟิศมากยิ่งขึ้น ซึ่งรายงานผลสำรวจของ SiteMinder ปีนี้ พบความต้องการที่หลากหลายทั้งกลุ่มของคนทำงาน และไม่ได้ทำงานระหว่างท่องเที่ยว ซึ่งกลุ่มที่พร้อมทำงานไปด้วยระหว่างการท่องเที่ยวจะเข้ามามีบทบาทให้สิ่งเล็กๆ กลายมาเป็นสิ่งสำคัญมากยิ่งขึ้น อาทิ กลิ่นน้ำหอมของที่พัก หรืองานศิลปะ โดยพวกเขาจะใช้เวลาในการพิจารณาและเลือกที่พักนานมากขึ้น เพื่อหาที่พักที่โดนใจตัวเองมากที่สุด นอกจากนี้ โฆษณาที่ตรงใจมีผลอย่างมากต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนจะมีผลต่อผู้ให้บริการที่พักต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน เนื่องจากคาดว่ากลุ่มนี้จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไป”

อีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจจากรายงานของ SiteMinder คือ การเปิดรับด้านเทคโนโลยีของนักท่องเที่ยวไทย เมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวประเทศอื่นๆ ทั่วโลก:

78% ของนักท่องเที่ยวคนไทย “ได้รับอิทธิพล” หรือ “ได้รับอิทธิพลอย่างมาก” จากโซเชียลมีเดียเมื่อจะทำการจอง ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 43%
72% ต้องการให้มีการเช็คอินแบบอัตโนมัติ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ 54%
93% จะเข้าไปดูข้อมูลก่อนการเข้าพักในโลก Metaverse ก่อนทำการเช็คอินหากทำได้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 72%
14% มองว่าแชทบอทเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีสำหรับเว็บไซต์ที่พักหรือโรงแรม เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ 8%
สามารถศึกษาข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมกับโลกโรงแรมเสมือนของ SiteMinder และอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://t.ly/5sUk

แนวทางการสำรวจข้อมูล

การสำรวจจัดทำโดย Kantar ซึ่ง SiteMinder ได้ทำการสำรวจนักท่องเที่ยวที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 8,182 คน ในเดือนสิงหาคม 2565 ใน 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินโดนีเซีย อิตาลี สเปน ไทย อังกฤษ และอเมริกา โดยถามคำถาม 25 ข้อที่เกี่ยวข้องกับที่พักโดยตรง และวิเคราะห์จากข้อมูล เพศ อายุ สถานที่ (ในเมือง ชานเมือง ต่างจังหวัด) แผนการเดินทาง แผนการทํางาน และประเภทของที่พักที่วางแผนจะเข้าพักครั้งต่อไป ข้อมูลยังได้รับการเสริมด้วยรายงานและข้อมูลจาก McKinsey & Company, Deloitte, Paysafe และอื่นๆ

ที่มา: SiteMinder

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Total
0
Share
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x